วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี/นวัตกรรมในท้องถิ่น

ปลาส้ม ภูมิปัญญาไทย รายได้ดี
ปลาส้มถือว่าเป็น อาหารที่ขึ้นชื่อใน จังหวัดพะยา เป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ ต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณริมกว๊านพะเยา และเป็นสินค้าที่ชาวบ้านได้ผลิตขึ้นจากภูมิปัญญาดังเดิม ที่ได้สืบถอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และปลาส้มยังผลิตจากปลาที่มีอยู่ในกว๊านพะเยา เช่น ปลาจีน ปลาตะเพียน เป็นต้น  ปลาส้มยังเป็นอาหารที่แปลกใหม่ และมีอยู่ไม่มาก ไม่มีการผลิตขายที่แพร่หลาย ดังนั้นปลาส้มจึงถือว่าเป็นอาหารประจำถิ่น
อุปกรณ์การทำปลาส้ม
1. กะละมัง      2. ถังพลาสติก   
3. ถุงพลาสติก    4. ยางรัดถุง
ส่วนผสม
1.ปลา(ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต) 10 กิโลกรัม
2.เกลือป่น 5 กำมือ
3.เกลือเสริมไอโอดีน 1 ขีด
4.กระเทียมบด 1 กิโลกรัม
5.ข้าวสุก 3 1/2 กิโลกรัม
                               6.แป้งข้าวเจ้า 1/2 กิโลกรัม
                               7.น้ำสะอาด
ขั้นตอนการทำ
1.        นำปลามาทำความสะอาด เอาไส้ออก ล้างให้หมด โดยเฉพาะส่วนท้องปลา
2.   นำข้าวสุกมาล้างน้ำและผึ่งให้แห้งพอหมาดๆ จากนั้นนำเกลือมาผสมกับปลาทิ้งไว้สัก 3 ชั่วโมง
3.   ผสมแป้งข้าวเจ้า 2  ขีด กับน้ำ 1 กะละมัง ล้างปลาอีกครั้งหนึ่งเพื่อขจัดกลิ่นคาว
4.   นำปลาที่ล้างแล้ว หมักกับเกลือป่นประมาณ 4 กำมือ ใช้เวลาหมัก 1 ชั่วโมง
5.   หลังจากนั้นให้ล้างปลาด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง และล้างด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำอีก 1 ครั้ง
6.   นำเกลือป่น 1 กำมือ ข้าวสุก เกลือเสริมไอโอดีน และกระเทียมบดผสมให้เข้ากัน ส่วนหนึ่งคลุกกับปลาที่ล้างแล้วและส่วนที่เหลือ  นำไปใส่ในท้องปลาให้เต็มท้อง
7.   นำปลาไปหมักไว้ในถัง ปิดฝาให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3-4 วัน
8.   ตักใส่ถุงพลาสติกขาย ขนาด1/2 - 1 กิโลกรัม หรือตามที่ลูกค้าต้องการ
แหล่งที่มา
ผู้ผลิตปลาส้มและสหกรณ์การเกษตร  อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา


แสดงความคิดเห็น กรณี นส. เอ

แสดงความคิดเห็นกรณี นส. เอ

          จากข้อความ  เห็นด้วย  เพราะการที่มีบุคคลมากมายเข้าไปแสดงความคิดเห็นนั้น ถือว่าเป็นการโต้ตอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิทธิการกระทำ และเป็นความรู้สึกของแต่ละบุคคลที่จะคิดพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามีหรือไม่มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ถ้าพูดถึงอนาคตที่ยังมีการใช้เทคโนโลยีในการโต้ตอบหรือแสดงความคิดเห็นก็เป็นสิ่งที่ไม่น่าเสียหาย ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในลักษณะนี้   ถึงแม้ว่าการแสดงความคิดเห็นหรือโต้ตอบทางเทคโนโลยีอาจเป็นสื่อการกระทำที่เหมือนกับการตอกย้ำ ซ้ำเติมต่อผู้ที่กระทำ แต่สังคมก็คือสังคม ถ้าบุคคลจำนวนมากลงความคิดเห็นแล้ว ผู้ที่กระทำต้องยอมรับความจริงกับการกระทำที่ตนเองได้ทำขึ้น ถ้าเหตุการณ์นั้นไม่ร้ายแรงหรือสูญเสียมากเกินไปก็ไม่มีบุคคลใดเข้ามาโต้ตอบหรือแสดงความคิดเห็น...

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจ เป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาดทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง  โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่าENIAC(Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี จึงนับได้ว่า UNIVACเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ หลอดสุญญากาศ ในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 - ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก
- ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
- ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
- เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506
มีการนำ ทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
- ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็น  อุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
- เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
- มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
- สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
- เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

       ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า " ไอซี " (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก นอกจาก นี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
- ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit: IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration: LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
- ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond: m S)  (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า) ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532
ป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated  : VLSI)   ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ  วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน   และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

                ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
- ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
- มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

  ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน
       ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System) คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System)
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอา ศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง




วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ                             นางสาวปริยาภรณ์       ฟองสมุทร
ชื่อเล่น         กิ๊ฟ
วันเดือนปีเกิด       26  สิงหาคม  2530
ที่อยู่ปัจจุบัน          บ้านเลขที่  293  ซอย  7  ถนน พหลโยธิน  ตำบล แม่ต๋ำ  อำเภอเมือง   จังหวัดพะเยา
อีเม                        gif_ck@hotmail.com  ,  nu.gift49@gmail.com
สัญชาติ    ไทย     ศาสนา    พุทธ
ส่วนสูง    166         เซนติเมตร    น้ำหนัก   54   กิโลกรัม
งานอดิเรก     อ่านหนังสือ  ดูหนัง  ฟังเพลง  ปลูกต้นไม้

ประวัติการศึกษา

ระดับปริญญาตรี      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สาขาชีววิทยา
สถาบันที่จบ        มหาวิทยาลัยนเรศวร  พะเยา
ปีการศึกษาที่จบ     2553
ปัจจุบันกำลังศึกษา   ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู  คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ประวัติการทำงาน

ปัจจุบันทำงานอยู่ที่   โรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล)  อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
วิชาที่สอน         วิชาภาษาอังกฤษ   ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
                      วิชาวิทยาศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
                วิชาสุขศึกษา      ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
หน้าที่พิเศษ        เวรประจำวัน  เวรอัคคีภัย  และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมายตามคำสั่ง

ความเชี่ยวชาญการใช้คอมพิวเตอร์
โปรแกรม Microsoft  office
Ms Excel, Ms Word Ms, PowerPoint และโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานทั่วไป

แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5


แผนการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5


  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่  8 ท้องฟ้าน่าศึกษา                                         เวลา  10  ชั่วโมง
เรื่อง ทิศและดวงดาว                                                                 เวลา   2  ชั่วโมง
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------มาตรฐานการเรียนรู้
  7.1  เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว 8.1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น  ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
สาระสำคัญ
                 การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน ทิศและปรากฏการณ์
ขึ้นตกของดวงดาว

สาระการเรียนรู้
การเกิดกลางวัน กลางคืน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.      อธิบายการเกิดกลางวัน กลางคืนได้
2.      ทดลองเรื่อง เกิดกลางวัน กลางคืนได้
3.      บอกตำแหน่งที่ตั้งของทิศต่าง ๆ ได้
4.      อธิบายวิธีการหาทิศด้วยการดูดาวได้
5.      ทดลองเรื่อง ปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว โดยใช้แบบจำลองได้
กระบวนการเรียนรู้
1.   ให้นักเรียนร้องเพลง แสงดาว  พร้อมกับทำท่าทางประกอบเพลง
ตามจินตนาการ
2.   ครูเล่านิทานพื้นบ้านเรื่อง  การเกิดกลางวัน กลางคืน  ตามความเชื่อของ
คนโบราณ ให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติประกอบนิทาน
3.   ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย เรื่อง การเกิดกลางวัน กลางคืน ว่าเกิดขึ้นได้
อย่างไร โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับนิทานพื้นบ้านในข้อ 1 ว่า เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีส่วนใดที่สอดคล้องสัมพันธ์ เป็นเหตุเป็นผลต่อกันบ้าง
4.   ครูสาธิตการทดลอง เรื่อง การเกิดกลางวัน กลางคืน  ตามวิธีการที่แนะนำไว้
ในใบงาน แล้วให้นักเรียนสังเกต และบันทึกผล เพื่อตอบคำถามหลังการทดลอง พร้อมกับสรุปผลการทดลองลงในใบงานที่ 1 เรื่อง กลางวัน-กลางคืน แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
5.   ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับผลการทดลองว่า กลางวัน
กลางคืน เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง และหมุนรอบดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบตัวเอง
1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน
6.   ให้นักเรียนยกตัวอย่างชื่อประเทศต่าง ๆ ที่เกิดกลางวัน กลางคืน ช่วงเดียว
กับประเทศไทย และแตกต่างจากประเทศไทย มาอย่างละ 5 ประเทศ ลงในใบงานที่ 2 เรื่อง การเกิดกลางวัน กลางคืนของประเทศต่างๆ  แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
7.   ให้นักเรียนอภิปรายว่า เหตุใดประเทศต่างๆ บนโลกบางประเทศ จึงเกิด
กลางวันและกลางคืนในช่วงเวลาเดียวกันและต่างช่วงเวลากัน
8.   อธิบายเพิ่มเติมและสรุปให้นักเรียนฟังว่า ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ
จะทำให้แต่ละประเทศบนโลก เกิดปรากฏการณ์กลางวันและกลางคืน   แต่จะเกิด
ไม่พร้อมกัน แล้วแต่ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ เช่น ประเทศไทย และประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่คนละด้านของโลก ขณะที่ประเทศไทยเป็นเวลากลางวัน ประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นเวลากลางคืน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
1.   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.   สังเกตการทำงานกลุ่ม
3.   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
4.   การตรวจผลงาน
-สมุดบันทึก
-แฟ้มสะสมงาน
-แบบฝึกหัด
5.   เจตคติทางวิทยาศาสตร์
                     - ความอยากรู้อยากเห็น
                     - ความซื่อสัตย์
                     - การยอมรับฟังความคิดเห็น

             เครื่องมือประเมินผล
1.   แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.   แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
3.   แบบประเมินการนำเสนอหน้าชั้น
4.   แบบประเมินผลงาน
5.   แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์
             เกณฑ์การประเมิน
1.   สังเกตการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                     ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
2.   สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
3.   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
4.   การตรวจผลงาน  ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
5.   เจตคติทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1.   ใบงานที่ 1  เรื่อง  กลางวัน - กลางคืน
2.   ใบงานที่ 2  เรื่อง  การเกิดกลางวัน กลางคืนของประเทศต่างๆ
3.   นิทาน
4.   ใบความรู้ เรื่อง  การเกิดกลางวัน กลางคืน
5.   ห้องสมุด