วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5


แผนการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5


  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่  8 ท้องฟ้าน่าศึกษา                                         เวลา  10  ชั่วโมง
เรื่อง ทิศและดวงดาว                                                                 เวลา   2  ชั่วโมง
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------มาตรฐานการเรียนรู้
  7.1  เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว 8.1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น  ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
สาระสำคัญ
                 การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน ทิศและปรากฏการณ์
ขึ้นตกของดวงดาว

สาระการเรียนรู้
การเกิดกลางวัน กลางคืน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.      อธิบายการเกิดกลางวัน กลางคืนได้
2.      ทดลองเรื่อง เกิดกลางวัน กลางคืนได้
3.      บอกตำแหน่งที่ตั้งของทิศต่าง ๆ ได้
4.      อธิบายวิธีการหาทิศด้วยการดูดาวได้
5.      ทดลองเรื่อง ปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว โดยใช้แบบจำลองได้
กระบวนการเรียนรู้
1.   ให้นักเรียนร้องเพลง แสงดาว  พร้อมกับทำท่าทางประกอบเพลง
ตามจินตนาการ
2.   ครูเล่านิทานพื้นบ้านเรื่อง  การเกิดกลางวัน กลางคืน  ตามความเชื่อของ
คนโบราณ ให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติประกอบนิทาน
3.   ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย เรื่อง การเกิดกลางวัน กลางคืน ว่าเกิดขึ้นได้
อย่างไร โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับนิทานพื้นบ้านในข้อ 1 ว่า เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีส่วนใดที่สอดคล้องสัมพันธ์ เป็นเหตุเป็นผลต่อกันบ้าง
4.   ครูสาธิตการทดลอง เรื่อง การเกิดกลางวัน กลางคืน  ตามวิธีการที่แนะนำไว้
ในใบงาน แล้วให้นักเรียนสังเกต และบันทึกผล เพื่อตอบคำถามหลังการทดลอง พร้อมกับสรุปผลการทดลองลงในใบงานที่ 1 เรื่อง กลางวัน-กลางคืน แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
5.   ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับผลการทดลองว่า กลางวัน
กลางคืน เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง และหมุนรอบดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบตัวเอง
1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน
6.   ให้นักเรียนยกตัวอย่างชื่อประเทศต่าง ๆ ที่เกิดกลางวัน กลางคืน ช่วงเดียว
กับประเทศไทย และแตกต่างจากประเทศไทย มาอย่างละ 5 ประเทศ ลงในใบงานที่ 2 เรื่อง การเกิดกลางวัน กลางคืนของประเทศต่างๆ  แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
7.   ให้นักเรียนอภิปรายว่า เหตุใดประเทศต่างๆ บนโลกบางประเทศ จึงเกิด
กลางวันและกลางคืนในช่วงเวลาเดียวกันและต่างช่วงเวลากัน
8.   อธิบายเพิ่มเติมและสรุปให้นักเรียนฟังว่า ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ
จะทำให้แต่ละประเทศบนโลก เกิดปรากฏการณ์กลางวันและกลางคืน   แต่จะเกิด
ไม่พร้อมกัน แล้วแต่ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ เช่น ประเทศไทย และประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่คนละด้านของโลก ขณะที่ประเทศไทยเป็นเวลากลางวัน ประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นเวลากลางคืน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
1.   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.   สังเกตการทำงานกลุ่ม
3.   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
4.   การตรวจผลงาน
-สมุดบันทึก
-แฟ้มสะสมงาน
-แบบฝึกหัด
5.   เจตคติทางวิทยาศาสตร์
                     - ความอยากรู้อยากเห็น
                     - ความซื่อสัตย์
                     - การยอมรับฟังความคิดเห็น

             เครื่องมือประเมินผล
1.   แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.   แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
3.   แบบประเมินการนำเสนอหน้าชั้น
4.   แบบประเมินผลงาน
5.   แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์
             เกณฑ์การประเมิน
1.   สังเกตการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                     ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
2.   สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
3.   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
4.   การตรวจผลงาน  ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
5.   เจตคติทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1.   ใบงานที่ 1  เรื่อง  กลางวัน - กลางคืน
2.   ใบงานที่ 2  เรื่อง  การเกิดกลางวัน กลางคืนของประเทศต่างๆ
3.   นิทาน
4.   ใบความรู้ เรื่อง  การเกิดกลางวัน กลางคืน
5.   ห้องสมุด

 
         
                                          





         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น